Image
Loading

เมืองไทยในบริบทพิบูลสงคราม (พ.ศ. 2481-2487)

17 มี.ค. 2565

 

เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 พระยาพหลพลพยุหเสนาประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกผู้แทนราษฎรชุดใหม่ ต่อมาที่ประชุมสภามีมติเลือกพันเอกหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีที่ควบรวมตําแหน่งสําคัญทางการเมืองและการทหาร สิ่งนี้ได้กลายเป็นฐานอํานาจทางการเมืองที่สําคัญของหลวงพิบูลสงคราม ในอีกทางหนึ่ง ปัจจัยภายนอกไม่ว่าจะเป็นการผงาดของผู้นําเผด็จการในยุโรปการผงาดของญี่ปุ่นในเอเชีย และการก่อตัวของสงครามโลกครั้งที่ 2 ล้วนมีผลต่อการดําเนินนโยบายชาตินิยมของหลวงพิบูลสงครามในช่วงทศวรรษ 2480 เป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากการประกาศรัฐนิยม 12 ฉบับ สิ่งก่อสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่เชิดชูวัฒนธรรมประชาธิปไตย การรณรงค์ด้านวัฒนธรรม เป็นต้น นอกจากนโยบายข้างต้นจะสร้างพลังชาตินิยมในสังคมไทยแล้ว ยังเป็นการเชิดชูบูชาผู้นํา และเสริมสร้างภาพพจน์ของหลวงพิบูลสงครามให้เป็นผู้นําชาติมีความโดดเด่นดังคําขวัญที่ว่า “เชื่อผู้นํา ชาติพ้นภัย”