Image
Loading
นิทรรศการ

{
   "id": "newlandmark",
   "title": "New Landmark",
   "description": "Creating a new landmark is that easy!",
   "x": "0.0000",
   "y": "0.0000",
   ...
}

นิทรรศการหมุนเวียน

เน้นเนื้อหาการจัดแสดงที่เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบัน เรื่องราวในแง่มุมต่าง ๆ ของศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย โดยในปี 2564 ได้จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน 3 เรื่อง คือ การ์ตูนล้อกับการเมืองไทย การเมืองไทยในบทเพลง และป้ายหาเสียงกับการเมืองไทย  

การ์ตูนล้อกับการเมืองไทย

นำเสนอความเป็นมาของการ์ตูนกับการเมืองไทยตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน   การ์ตูนเป็นเครื่องมือสื่อสารทางการเมืองที่มีอิทธิพลต่อความคิดและสามารถสื่อสารต่อสาธารณะในวงกว้างอย่างเข้าใจง่าย โดยพัฒนาการของการ์ตูนล้อการเมืองไทยสามารถแบ่งกว้าง ๆ ได้เป็น 4 ยุค ได้แก่ 

  • ยุคที่หนึ่ง  ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 : วาดล้อวิจารณ์รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยเริ่มจากสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้สนพระทัยในการวาดภาพล้อบุคคลใกล้ชิด จนขยายไปสู่ภาพล้อที่สะท้อนเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในยุคสมัย สะท้อนจากภาพลายเส้นขาวดำของศิลปิน 
  • ยุคที่สอง พ.ศ. 2475-2500 : วาดล้อเลียนคนการเมืองในระบอบใหม่ เป็นภาพล้อการเมืองในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ภาพการ์ตูนล้อในยุคนี้จึงมีการวิพากษ์วิจารณ์ข้าราชการ ทหาร พลเรือนในการทำหน้าที่ ไปจนถึงพฤติกรรมที่ควรจะเป็น ซึ่งรูปแบบของภาพวาดยังคงเป็นลายเส้น มีบทบรรยาย และมีการเผยแพร่ในหน้าหนังสือพิมพ์
  • ยุคที่สาม พ.ศ. 2500-2540 : จากปิดกั้นเสรีการวาดล้อสู่ยุคเสรีของการ์ตูนการเมือง การ์ตูนล้อการเมืองในช่วงนี้สะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างมหาศาลจะมีลักษณะที่ถูกจำกัดการแสดงออกเนื่องจากมีการจำกัดเสรีภาพสื่อ 
  • ยุคที่สี่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน : วาดล้อออนไลน์ในยุคเลือกข้าง เป็นการ์ตูนที่สะท้อนภาพขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง และการแสดงจุดยืนทางการเมืองของผู้วาด และยังเกิดการ์ตูนในโลกสังคมออนไลน์ที่มีการขยายตัวมากขึ้น

การเมืองไทยในบทเพลง 
นำเสนอบทเพลงที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตามวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เช่น เพื่อนำเสนอภาพตัวตนของกลุ่มชนในมติต่าง ๆ เพื่อส่งผ่านอุดมการณ์ และใช้ขับเคลื่อนการชุมนุมทางการเมือง โดยทั้งดนตรีและบทเพลงนั้นสามารถสร้างสรรค์ขึ้นได้จากทั้งภาครัฐและภาคประชาชน


ป้ายหาเสียงกับการเมืองไทย 
นำเสนอความเปลี่ยนแปลงของป้ายหาเสียงนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากป้ายหาเสียงเป็นช่องทางสื่อสารที่นักการเมืองและพรรคการเมืองใช้เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบนโยบายของพรรคและตัวตนของผู้แทน ซึ่งมีวิวัฒนาการสอดรับกับบริบททางการเมืองสังคม กฎกติกา และการกำกับดูแลการเลือกตั้ง รวมไปถึงยังสะท้อนแนวคิดการสื่อสารทางการเมือง การตลาด และการโฆษณาในแต่ละยุคสมัย 
 




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 2 : ศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้าศึกษา

ศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้าศึกษาเป็นส่วนงานที่ให้บริการวิชาการ และสนับสนุนงานของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า ตลอดจนสาธารณชน ในด้านพระปกเกล้าศึกษา ประวัติศาสตร์ พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย  ผ่านทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ อาทิเช่น วารสารรายสัปดาห์ หนังสือพิมพ์ หนังสือภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ เอกสารวิชาการ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)  และโสตทัศนวัสดุที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และเหตุการณ์ในรัชสมัย

พื้นที่บริเวณติดกับพื้นที่ของนิทรรศการชั่วคราว โดยมีพื้นที่ให้บริการค้นคว้า และมีการให้บริการสืบค้นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เปิดทำการในวันอังคาร – อาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น.




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 3-4 : ห้องสามศร 2

ห้องประชุมและห้องกิจกรรมเอนกประสงค์

 

 

 

 




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

ห้องประชุมสามศร 3

ห้องประชุมและห้องกิจกรรมเอนกประสงค์

 

 

 

 

 

 




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 2 : ความหมายประชาธิปไตย

คำว่าประชาธิปไตยหรือ Democracy ในภาษาอังกฤษ มีที่มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Demosที่แปลว่าประชาชนกับ Kratos ที่แปลว่าการปกครอง มีความหมายว่า การปกครองโดยประชาชน ส่วนในภาษาไทยนั้น คำว่า “ประชาธิปไตย” เกิดจากศัพท์สองคำคือ “ประชา” หมายถึง ประชาชน และ “อธิปไตย” หมายถึง อำนาจแห่งการปกครอง

 




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 3 : อำนาจอธิปไตย

อำนาจอธิปไตย ในระบอบการปกครองประชาธิปไตยนั้น คือ ระบอบการปกครองที่ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน คือ อำนาจอธิปไตยมาจากประชาชน ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนสามารถใช้อำนาจด้วยตนเองหรือมีสิทธิเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่

 




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 4 : ความหลากหลายในสังคมประชาธิปไตย 

ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้รับรองความแตกต่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเพศ เชื้อชาติ ศาสนา และความแตกต่างทางกายภาพทั้งเด็ก คนแก่ คนพิการ
 




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 5 : หลักการประชาธิปไตย

ระบอบประชาธิปไตยมีหลักการพื้นฐานที่สำคัญ 1. ความเสมอภาค มนุษย์ทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด 2. สิทธิ คือ ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและให้ความคุ้มครอง และ3.เสรีภาพ คือ อำนาจตัดสินใจของบุคคลที่จะกระทำการหรือไม่กระทำการบางอย่างโดยไม่มีบุคคลอื่นมาครอบงำ




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 6 : สิทธิเสรีภาพและหน้าที่พลเมือง

ในฐานะพลเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญ ในแง่หนึ่งการสร้างสังคมประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นจริงต้องอาศัยการวางรากฐานผ่านการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (Civic Education) หรือที่เรียกกันว่า “หน้าที่ของปวงชนชาวไทย” เช่น การใช้สิทธิเลือกตั้ง การจ่ายภาษี เป็นต้น พลเมืองมีสิทธิและหน้าที่เป็นของควบคู่กัน

 




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 7 : การเมืองในชีวิตประจำวัน

ในความเป็นจริงการเมืองนั้นอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ตั้งแต่ค่าไฟฟ้าที่เราใช้ อาหารที่เราบริโภค ราคาสินค้า ถนนหนทาง การรับบริการที่โรงพยาบาล รายการทีวี หลากหลายมิติในชีวิตประจำวันของเราล้วนเป็นผลลัพธ์จากการเมือง เนื่องจากรัฐบาลจะเป็นผู้ที่กำหนดและจัดสรรสวัดิการด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน 




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 9 : ประชาธิปไตยในรูปแบบต่าง ๆ

ระบอบประชาธิปไตยมีรูปแบบที่แตกต่างกันอย่างน้อย 3 รูปแบบ คือ 1.รูปแบบรัฐสภา รัฐสภาเป็นองค์กรสูงสุด เป็นศูนย์กลางของอำนาจทางการเมือง 2. รูปแบบประธานาธิบดี มีประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและเป็นประมุขของประเทศ ตัวอย่างคือประเทศสหรัฐอเมริกา และ3.รูปแบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี ตัวอย่างคือประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพัฒนาการประวัติศาสตร์การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ 

 




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 1 : Introduction เส้นทางประชาธิปไตย

เส้นทางประชาธิปไตย กระตุ้นความสนใจและเตรียมความพร้อมให้กับผู้เข้าชม ด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองจนมาถึงการเมืองไทยในปัจจุบัน  แสดงให้เห็นจุดเปลี่ยนสำคัญในแต่ละยุคสมัยและสะท้อนความเป็นพลวัตของการเมือง




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 2 : ก่อร่างสร้างรัฐ

ร่วมกันเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการก่อร่างสร้างรัฐสมัยใหม่ ในช่วงรัชกาลที่ 4-7 สะท้อนให้เห็นการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของโลก อันเป็นรากฐานสำคัญให้รัฐสยามพร้อมที่จะเป็นรัฐที่ปกครองด้วยระบอบการปกครองสมัยใหม่ คือการปกครองด้วยระบอบที่มีรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจสูงสุด 

 




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 3 : วิวัฒน์สยาม วัฒนาประชาธิปไตย

ร่วมกันเรียนรู้ผ่านเหตุการณ์สำคัญด้วยบรรยากาศเสมือนจริง ตั้งแต่เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ไปจนถึงเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสะท้อนให้เห็นบรรยากาศบ้านเมืองที่บริหารประเทศด้วยระบอบการปกครองแบบใหม่ และการเผชิญกับกระแสการเมืองโลก การผลัดเปลี่ยนอำนาจของกลุ่มบริหารประเทศ เพื่อเข้าใจจุดเปลี่ยนของการเมืองไทยที่ส่งผลมาถึงปัจจุบัน 




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 4 : พลวัตประชาธิปไตยไทย พัฒนาการประชาธิปไตยโลก

ร่วมกันเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตยแบบไทยๆ ซึ่งอยู่ในช่วงสภาวะสงครามเย็น เป็นช่วงเวลาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมืองเป็นอย่างมาก เกิดประชาธิปไตยที่มีพลวัต จากความเผด็จการสู่ประชาธิปไตยเบ่งบาน ประชาธิปไตยครึ่งใบสู่ประชาธิปไตยของประชาชน 

 




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 5 : การเมืองเชิงนโยบาย ประชาธิปไตยแบบมวลชน

ร่วมเรียนรู้และเข้าใจสถานการณ์ที่นำมาสู่ประชาธิปไตยไทยในปัจจุบันโดยเริ่มจากรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่เพิ่มความคุ้มครองให้กับสิทธิของปวงชนชาวไทย รวมถึงการเกิดระบบการเลือกตั้งรูปแบบใหม่ สู่การแข็งขันทางการเมืองเชิงนโยบาย และพลังการขับเคลื่อนของมวลชนท่ามกลางความคิดที่แตกต่างหลากหลายในสังคมประชาธิปไตย 




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 6 : ก้าวสู่อนาคตประชาธิปไตย

มาร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสังคมประชาธิปไตยรับฟังความคิดเห็นและมุมมองเรื่องประชาธิปไตยจากกลุ่มคนต่างๆ ในสังคม เพื่อตระหนักถึงและก้าวไปสู่อนาคตประชาธิปไตยในแบบของคุณ 




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 7 : พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

บริเวณโถงทางเข้านิทรรศการการเมืองการปกครองไทย ประดิษฐานพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อรำลึกถึงพระองค์ผู้ซึ่งพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกแก่ปวงชนชาวไทย

พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปขนาดเท่าพระองค์จริงครึ่งพระองค์ ทรงฉลองพระองค์ชุดสากล วัสดุโลหะผสม สูง 80 เซนติเมตร

ความเป็นมา 
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้เชิญพระนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นชื่อของสถาบัน และให้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “King Prajadhipok’s Institute” ประกอบกับในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการก่อตั้งสถาบันพระปกเกล้า ที่ได้ดำเนินงานมาจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคมในระดับหนึ่งในปี 2551 นี้

สถาบันพระปกเกล้าจึงมีดำริที่จะจัดทำพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขนาดเท่าพระองค์จริงครึ่งพระองค์ แบบฉลองพระองค์เต็มยศ เพื่อประดิษฐาน ณ สถาบันพระปกเกล้า กับแบบฉลองพระองค์ชุดสากล โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณอย่างยิ่งแก่ชาติไทย

ผู้รับผิดชอบการปั้น นายชิน  ประสงค์ 
ประวัติการทำงาน รับราชการในกรมศิลปากร แผนกช่างปั้น ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ

 




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 1 : Introduction ประชาธิปไตยของไทย

พาผู้ชมไปเปิดประสบการณ์กับภาพยนตร์ 4 มิติ และร่วมกันตั้งคำถามว่า ประชาธิปไตยคืออะไร สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่พลเมืองของเราคืออะไร




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 8 : พลังพลเมือง เสริมสร้างสังคม Empowering the Citizen

ร่วมส่งเสริมให้พลเมืองได้มีส่วนร่วมทางการเมืองได้สัมผัสเหตุการณ์ องค์ประกอบของพลเมือง และความเชื่อมโยงของการสร้างพลเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตย ผ่าน Interactive Wall




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 1 : ลานกิจกรรมและนิทรรศการกลางแจ้ง

เส้นทางประชาธิปไตย  ลำดับเหตุการณ์ว่าด้วยเรื่องราวกว่าจะเป็นประชาธิปไตยในทุกวันนี้  ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงของสยามในยุครัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 หรือบรรยากาศของสยามหลังการมีรัฐธรรมนูญ ไปจนถึงจุดเปลี่ยนสำคัญต่อประชาธิปไตยมาจนถึงปัจจุบัน อย่างการรัฐประหาร พ.ศ.2490

 




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 2 นิทรรศการพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้นำอิสระชนชาวสยาม

ยุคสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  กระแสของนักหนังสือพิมพ์ต่างๆ ได้มีการวิพากวิจารณ์การทำงานของรัฐบาล พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เอง ก็ทรงเปิดกว้างให้แก่ชาวอิสรชน  นอกจากนี้พระองค์มีความพยายามในการปรับเปลี่ยนระบบการปกครองให้ทันสมัย




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

โซน 3 : ประติมากรรมโลหะ “งอกงาม”

สถาบันพระปกเกล้าให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยโดยมุ่งเน้นเรื่องการเสริมสร้างความเป็นพลเมือง  รวมถึงมีบทบาทเป็นแหล่งการเรียนรู้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย จึงสร้างประติมากรรม “งอกงาม” ที่มีแรงบันดาลใจจากพืชพรรณดอกไม้เพื่อเป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายถึงการเมืองการปกครองของประเทศ ที่มีประวัติความเป็นมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน พัฒนาผ่านกาลเวลาสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย สะท้อนถึงนวัตกรรมความสมดุล ภูมิปัญญา สิ่งดีงาม และสรรพสิ่งที่จะงอกงามเจริญเติบโต รูปสัญญะนี้จะสื่อสารแนวความคิดสู่โลกยุคใหม่  ให้ความคิดสร้างสรรค์แก่ประชาชนและประเทศสืบไป


โดย ศาสตราจารย์วิโชค  มุกดามณี
ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ประจำปี พ.ศ.2555




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

อาคารอนุรักษ์ จัดแสดงนิทรรศการพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

แต่เดิมคือที่ทำการของห้างยอน แซมป์สัน แอนด์ ซัน (John Sampson & Son Limited) ซึ่งเป็นสาขาของห้าง Messrs. Sam & Sampson & Son จำหน่ายผ้าและรับตัดเสื้อผ้า รองเท้า รวมทั้งอานม้าที่มีซื่อเสียงย่านบอนด์สตรีท (Bond Street) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงชักชวนให้มาเปิดสาขาในกรุงเทพฯ เมื่อคราวเสด็จฯ ประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 ในระยะแรกเริ่มคือ พ.ศ. 2441 ทางห้างได้เช่าห้องแถว ณ ถนนพระสุเมรุ เพื่อประกอบกิจการ ต่อมาใน พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระคลังข้างที่ลงทุนก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่บนพื้นที่ 1,008 ตารางวา เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ระหว่างถนนหลานหลวงกับถนนดำรงรักษ์ ค่าที่ดินและค่าก่อสร้างเป็นเงินรวม 258,550 บาท เพื่อให้ห้างนี้เช่าเป็นสำนักงานใหญ่โดยเฉพาะ
 
สำหรับแบบแปลนอาคารนั้น นายเฟรดเดอริก แซมป์สัน (Mr. Frederick Sampson) เจ้าของห้างฯ เป็นผู้เลือก ที่พิเศษไปกว่านั้นคือ เป็นห้างเดียวที่ตั้งบนถนนราชดำเนินนอกซึ่งเป็นถนนสายหลักของกรุงเทพฯ อันเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะให้เป็นที่ตั้งวังเจ้านายและสถานที่ราชการ โดยเฉพาะอาคารแห่งนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2455 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นายเฟรดเดอริก แซมป์สัน ได้ลงนามในสัญญาเช่ากับกรมพระคลังข้างที่ ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2455 กำหนดระยะเวลาเช่า 15 ปี อย่างไรก็ตามในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 เป็นเวลาก่อนหมดสัญญาเช่าเพียง 10 เดือน ทางห้างฯ ก็ได้ขอเลิกสัญญาเช่ากับกรมพระคลังข้างที่ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2469 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระคลังข้างที่ได้ให้หลวงไมตรีวานิช (เฉลิม ยอดมณี) เช่าอาคารหลังนี้เป็นที่ทำการของห้าง สุธาดิลก จำหน่ายวัสดุก่อสร้างและเครื่องสุขภัณฑ์สมัยใหม่ รวมทั้งตะเกียงเจ้าพายุ เครื่องแก้ว และรถสามล้อ สัญญาเช่าได้หมดลงในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2475 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย ได้ขอเช่าเป็นที่ทำการของกรม ได้มีการลงนามในสัญญาเช่าระหว่างกรมพระคลังข้างที่กับกรมโยธาธิการในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2478 อาคารแห่งนี้ได้ใช้เป็นสถานที่ทำงานของกรมโยธาธิการ จนถึง พ.ศ. 2538
 
กรมศิลปากรจึงได้ขึ้นทะเบียน และกำหนดเขตที่ดินและอาคารเป็นพื้นที่โบราณสถาน กรมโยธาธิการได้เช่าอาคารแห่งนี้จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จนถึง พ.ศ. 2544 จึงได้มอบสิทธิการเช่าให้แก่สถาบันพระปกเกล้า เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544 เพื่อใช้เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงตกแต่งอาคารแล้วเสร็จในปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2545




  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย
  • ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย